ดื่มสุราเป็นประจำมักนำไปสู่โรคตับแข็ง (https://www.rophekathailand.com/post/l/hepheka/cirrhosis)ในระยะยาว แต่หลายคนอาจแปลกใจ บางคนดื่มจัดตลอดชีวิตแต่ไม่เคยเป็นตับแข็ง? เรื่องนี้มีหลายเหตุผลประกอบกันดังนี้
(http://www.rophekathailand.com/wp-content/uploads/2025/04/%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B2.png)
1. กรรมพันธุ์มีผล
- บางคนมีเอนไซม์ที่ย่อยแอลกอฮอล์ได้ดี
- ผู้ที่ร่างกายจัดการพิษได้ไว อาจไม่สะสมพิษไวในระยะสั้น
2. บางคนมีการฟื้นฟูตับได้ดีกว่า
- ร่างกายของบางคนมีระบบซ่อมแซมและสร้างเซลล์ตับใหม่ได้ดีกว่าคนอื่น
- แม้จะมีการทำลายจากแอลกอฮอล์ แต่ร่างกายก็ฟื้นฟูได้เร็ว ทำให้อาการไม่รุนแรงหรือยังไม่แสดงออกชัดเจน
3. พฤติกรรมการกินร่วมด้วย
- บางคนที่แม้ดื่มหนัก แต่ยังดูแลเรื่องอาหารได้ดี เช่น โปรตีน วิตามิน และสารต้านอนุมูลอิสระ อาจช่วยชะลอการเสื่อมของตับ
4. ระยะเวลาและปริมาณที่แท้จริง
- ดูภายนอกเหมือนดื่มจัด แต่บางคนอาจไม่ได้ดื่มในปริมาณที่มากพอจะทำลายตับอย่างรวดเร็ว
- หรือเพิ่งดื่มหนักมาไม่นาน ยังไม่ถึงเวลาที่ตับจะเสียหายจนแสดงอาการออกมา
5. ตับแข็งไม่แสดงอาการในช่วงแรก
- ตับสามารถทำงานได้แม้ถูกทำลายไปมาก
- อาจเกิดพังผืดในตับแต่ยังไม่มีอาการให้เห็น คนที่ดูเหมือนไม่มีปัญหา อาจจริง ๆ แล้วมีค่าตับผิดปกติแต่ไม่เคยตรวจ
แม้บางคนจะโชคดีดูเหมือนไม่เป็นตับแข็งจากการดื่มเหล้า แต่ไม่ได้แปลว่าปลอดภัย การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก ยังคงทำลายเซลล์ตับทีละน้อย ทั้งตับอักเสบ ทางที่ดีที่สุดคือดูแลตัวเองตั้งแต่วันนี้ เพราะการป้องกันง่ายกว่าการรักษา